ทำความรู้จักปุ๋ย NPK และวิธีทำปุ๋ย NPK ด้วยตัวเองง่าย ๆ ด้วยถังหมักปุ๋ย Oklin

ทำความรู้จักปุ๋ย NPK และวิธีทำปุ๋ย NPK ด้วยตัวเองง่าย ๆ ด้วยถังหมักปุ๋ย Oklin

ถังหมักปุ๋ย
ถังหมักปุ๋ย

ทำความรู้จักปุ๋ย NPK และวิธีทำปุ๋ย NPK ด้วยตัวเองง่าย ๆ ด้วยถังหมักปุ๋ย Oklin

ปุ๋ย NPK มีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร พร้อมเรียนรู้วิธีหมักปุ๋ยด้วยถังหมักปุ๋ย Oklin

หากจะพูดถึงชนิดของปุ๋ยที่เกษตรกรรู้จักกันดี หนึ่งในนั้นคงต้องมีชื่อปุ๋ย NPK แน่นอน โดยปุ๋ยชนิดนี้เป็นปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยหมักที่มีส่วนผสมของสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยตัวย่อแต่ละตัวแทนชื่อของสารเคมีแต่ละชนิด ดังนี้ N คือไนโตรเจน, P คือฟอสฟอรัส และ K คือโพแทสเซียม

ปุ๋ยแต่ละสูตรจะมีปริมาณของสารอาหารแต่ละชนิดในอัตราส่วนที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ความต้องการของพืชแต่ละชนิด เช่น ปุ๋ยสูตรที่นิยมใช้คือปุ๋ยสูตร 16:16:16 หรือปุ๋ยสูตรเสมอที่มีอัตราส่วนของสารอาหาร NPK ในปริมาณที่เท่า ๆ กัน ซึ่งนอกจากจะสามารถซื้อปุ๋ยเคมีได้ตามร้านอุปกรณ์การเกษตรแล้ว ยังสามารถหมักปุ๋ยอินทรีย์ NPK ในถังหมักปุ๋ยด้วยตัวเองได้อีกด้วย แต่หากต้องการหมักปุ๋ยในถังหมักปุ๋ยด้วยตัวเอง คงต้องมาเริ่มที่การทำความเข้าใจหน้าที่ของสารอาหารต่าง ๆ ในปุ๋ย NPK กันเสียก่อน ว่าสารอาหารแต่ละชนิดมีประโยชน์ต่อพืชอย่างไรบ้าง แล้วจึงจะสามารถหมักส่วนผสมต่าง ๆ ลงในถังหมักปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง

 

ถังหมักรักษ์โลก
สารอาหาร NPK ในปุ๋ยมีประโยชน์ต่อพืชดังนี้

N หรือไนโตรเจน เป็นสารอาหารที่เหมาะจะใช้บำรุงไม้ใบ เพราะช่วยให้ใบของพืชสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น เพื่อนำมาสร้างคลอโรฟิลล์ ทำให้ใบของพืชมีสีเขียว และยังช่วยให้ลำต้นของพืชในช่วงแรกของการเจริญเติบโตมีความแข็งแรงขึ้น ตั้งลำต้นได้ดีขึ้น หากพืชขาดไนโตรเจน ใบจะเหลืองและลำต้นแคระแกร็น ซึ่งอาจทำให้ได้ผลผลิตน้อยลง หากหมักปุ๋ยในถังหมักปุ๋ยเพื่อใช้บำรุงไม้ใบ จึงควรเน้นไปที่สารอาหารไนโตรเจนนั่นเอง

P หรือ ฟอสฟอรัส เป็นสารอาหารที่เหมาะจะใช้บำรุงไม้ดอก เพราะช่วยบำรุงดอกและรากของพืช ช่วยเร่งพืชให้ออกดอกไวขึ้น เร่งการออกผลของพืช เพื่อให้สร้างเมล็ดไวขึ้น และช่วยให้รากแข็งแรง สามารถดูดสารอาหารไปใช้งานได้ดีขึ้น ถ้าพืชขาดฟอสฟอรัส รากจะเดินไม่ดี ทำให้ลำต้นแคระแกร็น ให้ผลผลิตน้อย ใบจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และจะค่อย ๆหลุดร่วงไปในที่สุด โดยสามารถหมักปุ๋ยในถังหมักปุ๋ยเพื่อนำไปบำรุงไม้ดอกได้ แต่ควรเพิ่มอัตราส่วนของฟอสฟอรัสให้มากหน่อย

K หรือโพแทสเซียม เป็นสารอาหารที่เหมาะจะใช้บำรุงไม้ผล เพราะช่วยสร้างแป้ง น้ำตาลและโปรตีนให้กับผลของพืช ทำให้ผลมีรสชาติที่อร่อยขึ้น หวานขึ้น และเนื้อมีคุณภาพมากขึ้น ถ้าพืชขาดโพแทสเซียม ใบจะเหลืองและมีรอยไหม้ตามขอบใบ และผลของพืชจะมีรสจืด ขาดความหวาน สามารถหมักปุ๋ยในถังหมักปุ๋ยเพื่อนำไปใช้บำรุงไม้ผล เพิ่มความอร่อยให้ผลไม้ได้ โดยควรเพิ่มอัตราส่วนของโพแทสเซียม

วิธีใช้ถังหมักปุ๋ยทำปุ๋ย NPK ด้วยตัวเอง

ก่อนจะเริ่มทำการหมักปุ๋ยในถังหมักปุ๋ย จะต้องเตรียมส่วนผสมต่าง ๆ ที่อุดมไปด้วยสารอาหาร NPK ให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วจึงนำส่วนผสมทั้งหมดลงไปจัดเรียงเป็นชั้น ๆ ในถังหมักปุ๋ย โดยต้องแบ่งส่วนผสมต่าง ๆ ในถังหมักปุ๋ยออกตามประเภทของสารอาหารดังนี้

ถังหมักปุ๋ย

  1. ส่วนผสมไนโตรเจนในถังหมักปุ๋ย
    เริ่มกันที่ส่วนผสมชั้นไนโตรเจนซึ่งจะวางเรียงไว้ด้านล่างสุดของถังหมักปุ๋ย โดยมีส่วนผสมดังนี้
    • ใส่พืชที่ยังไม่ออกดอกหรือยังไม่ออกผลลงในถังหมักปุ๋ย โดยถอนพืชมาสด ๆ จากดิน เช่น หญ้าเนเปียร์สด
    • ลำต้น ใบ ดอก และผลของพืชที่แก่จัด มีสีเขียวเข้ม เช่น กระถิน มะขาม
    • พืชที่ออกดอก ออกผลแล้ว สามารถถอนหรือตัดมาใช้ได้ เช่น ต้นถั่ว ต้นมันต่าง ๆ
    • เมือก เลือด และเนื้อจากปลาสด ๆ ที่ยังมีชีวิตจะช่วยเพิ่มไนโตรเจนได้มากขึ้น
      รำอ่อน

  2. ส่วนผสมฟอสฟอรัสในถังหมักปุ๋ย
    ใช้มูลสัตว์ เช่น ขี้ค้างคาวแม่ไก่ที่เป็นขี้ใหม่ และขี้ไก่ไข่ผสมแกลบเพื่อให้มีฟอสฟอรัสสูง, กากมัน, กากอ้อย, อินทรียวัตถุแห้งต่าง ๆ เช่นใบไม้ กิ่ง ต้น เหง้า หัว ผล, ใบแก่ของพืช และ เกล็ด ก้าง กระดูกของปลาทะเล นำส่วนผสมในข้อนี้วางเรียงลงในถังหมักปุ๋ยต่อจากส่วนผสมไนโตรเจน

  3. ส่วนผสมโพแทสเซียมในถังหมักปุ๋ย
    ชั้นบนสุดของถังหมักปุ๋ยให้วางเปลือกและเนื้อของผลไม้รสหวานที่แก่จัด หรือเปลือกสด/เปลือกแห้งของผลไม้รสหวาน เช่น สับปะรด ทุเรียน มะละกอ กล้วย แอปเปิล, อินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่ถูกนำไปเผาให้เป็นถ่าน เช่น ใบไม้ กิ่ง ต้น เหง้า หัว ผล เช่น ถ่านหญ้าเนเปียร์หรือถ่านต้นไผ่, ขี้แดดนาเกลือ,เกล็ดปลา และก้างปลา

วิธีหมักปุ๋ยในถังหมักปุ๋ย

  1. รองพื้นถังหมักปุ๋ยด้วยหญ้าเนเปียร์และผักสดชนิดต่าง ๆ

  2. วางส่วนผสมอื่น ๆ ลงในถังหมักปุ๋ยทีละชั้น เช่น เปลือกสับปะรด ใบไม้ อย่าเพิ่งใส่รำอ่อนลงไปในถังหมักปุ๋ยในขั้นตอนนี้ และสำหรับอัตราส่วนของการใส่ส่วนผสมต่าง ๆ ลงในถังหมักปุ๋ย ให้ดูจากชนิดของพืชและผลลัพธ์ที่ต้องการเป็นหลัก เช่น หากจะนำปุ๋ยไปใช้กับพืชกินใบให้ เน้นส่วนผสมไนโตรเจนมากกว่าส่วนผสมอื่น ๆ ในถังหมักปุ๋ย หรือหากต้องการให้ผลไม้มีรสหวานอร่อย ให้เน้นส่วนผสมโพแทสเซียมมากกว่าส่วนผสมอื่น ๆ ในถังหมักปุ๋ย

  3. โรยรำอ่อน รำละเอียดไว้ที่ด้านบนสุดของส่วนผสมทั้งหมดในถังหมักปุ๋ย

  4. ผสมน้ำตาลกับจุลินทรีย์ให้เข้ากัน เพื่อนำมาใช้ทำเป็นหัวเชื้อน้ำหมัก ตรวจสอบให้ได้ความชื้น 60% จากนั้นนำมาเทลงไปในถังหมักปุ๋ยที่ใส่ส่วนผสมไว้แล้วเรียบร้อย

  5. คลุมถังหมักปุ๋ยด้วยผ้าพลาสติกให้มิดชิด แล้วตั้งถังหมักปุ๋ยไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 30 วัน โดยห้ามให้ถังหมักปุ๋ยโดนแดดโดนฝน

  6. ถ้าปุ๋ยหมักในถังหมักปุ๋ยแฉะเกินไป ให้เปลี่ยนมาใช้ผ้าสแลนคลุมถังหมักปุ๋ยแทนผ้าพลาสติก เพื่อระบายอากาศ

จะเห็นได้ว่าการหมักปุ๋ยด้วยตนเองนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่คุณสามารถข้ามขั้นตอนที่ 4-6 ไปได้อย่างง่ายดาย เมื่อหมักปุ๋ยในเครื่องย่อยเศษอาหาร Oklin ที่ทำหน้าที่แบบเดียวกันกับถังหมักปุ๋ยทั่วไป แต่ Oklin ให้ผลลัพธ์ที่ดีและรวดเร็วกว่า หากต้องการลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพในการหมักปุ๋ย

ในการหมักปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เองนั้นสามารถใช้ถังหมักปุ๋ยแบบธรรมดา หรือใช้ถังหมักปุ๋ยที่เป็นเครื่องย่อยเศษอาหาร ซึ่งจะเปลี่ยนเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์อย่างง่ายดาย หากคุณเป็นร้านอาหารหรือโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงบ้านพักอาศัยที่ต้องการจะนำเศษอาหารเหลือทิ้งมาแปรเปลี่ยนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ลองเลือกใช้ “เครื่องย่อยเศษอาหาร OKLIN” ทำหน้าที่คล้ายถังหมักปุ๋ย โดยใช้จุลินทรีย์ย่อยขยะเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างสะดวกและรวดเร็ว เป็นการช่วยประหยัดทรัพยากร ช่วยลดก๊าซมีเทน และช่วยประหยัดค่าปุ๋ย มีให้คุณเลือกใช้ทั้งขนาดครัวเรือนและขนาดอุตสาหกรรม

สามารถติดต่อสอบถามสินค้า ถังหมักรักษ์โลก และติดตามโปรโมชั่นดี ๆ ได้ที่
Facebook page : oklinthailand
Line official : @oklinthailand
โทรศัพท์ : 095-1595645

Top