ถังย่อยเศษอาหาร ไอเดียกำจัดขยะมาแรง สำหรับหน่วยงานไทย
ถังย่อยเศษอาหาร ไอเดียกำจัดขยะมาแรง สำหรับหน่วยงานไทย

ถังย่อยเศษอาหาร ไอเดียกำจัดขยะมาแรง สำหรับหน่วยงานไทย

การใช้ถังย่อยเศษอาหารมีประโยชน์ต่อหน่วยงานไทยยุคใหม่อย่างไรบ้าง

ถังย่อยเศษอาหารถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในยุคที่การรณรงค์เรื่องการลด Food Waste และการคัดแยกขยะ กำลังเป็นที่สนใจและหลายภาคส่วนของสังคมกำลังปฏิบัติตามแนวทางนี้กันอยู่อย่างเคร่งครัด เพราะหน่วยงานไทยหลายแห่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีขยะเศษอาหารเหลือทิ้งในปริมาณมากทุกวัน

ไม่ว่าจะเป็นขยะเศษอาหารและขยะอินทรีย์จากโรงอาหารของหน่วยงาน, ร้านค้าภายในหน่วยงาน, หอพักของบุคลากร, พื้นที่ให้บริการบุคคลภายนอก, ส่วนปฏิบัติการของหน่วยงาน รวมถึงขยะเศษอาหารจากการรับประทานอาหารส่วนตัวของพนักงาน และอาหารที่นำมาเลี้ยงรับรองแขกของหน่วยงาน ซึ่งหากอาหารเหล่านี้มีการเหลือทิ้งในแต่ละวัน ก็จะกลายเป็นเศษอาหารไร้ประโยชน์ ซึ่งเรียกว่า Food Waste ที่ถือเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

ดังนั้นการนำถังย่อยเศษอาหารเข้ามาใช้งานภายในหน่วยงานไทยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จึงถือเป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ในหลาย ๆ ด้าน

การกำจัดขยะด้วยถังย่อยเศษอาหาร มีประโยชน์ต่อหน่วยงานไทยอย่างไร

  • ลดขั้นตอนการจัดการขยะเศษอาหารและขยะอินทรีย์
    ตามปกติหากหน่วยงานใดมีการรณรงค์เรื่องการคัดแยกขยะ และมีการนำแนวทางการแยกขยะไปปฏิบัติตามอย่างจริงจัง บริเวณที่ทิ้งขยะของหน่วยงานจะแบ่งถังขยะออกเป็นสีต่าง ๆ และถังขยะสำหรับขยะอินทรีย์ที่ย่อยสลายและเน่าเสียได้ จะถูกทิ้งลงในถังขยะสีเขียวเท่านั้น

    ในทางกลับกันหากหน่วยงานใดมีการใช้ถังย่อยเศษอาหารในการกำจัดเศษอาหารและขยะอินทรีย์ ก็จะช่วยให้ทางหน่วยงานประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะมากขึ้น แทนที่คนทำความสะอาดของหน่วยงานจะต้องนำขยะเศษอาหารจากพื้นที่ทิ้งขยะ ไปถ่ายเทลงในถุงขยะ เพื่อรอให้รถเก็บขยะมาจัดการ ก็เปลี่ยนมาเป็นการนำขยะเศษอาหารเหล่านั้น ไปเทลงในถังย่อยเศษอาหารได้ทันที โดยไม่ต้องจัดการอะไรให้ยุ่งยาก จึงช่วยประหยัดค่าถุงขยะ ค่าทำความสะอาดพื้นที่พักขยะ และช่วยให้คนทำความสะอาดประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น

  • ช่วยส่งเสริมนโยบายการคัดแยกขยะ
    ถังย่อยเศษอาหารช่วยส่งเสริมนโยบายคัดแยกขยะของหลายหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเนื่องจากหลายปีมานี้กระทรวงและหน่วยงานต่าง ๆ ได้มีนโยบายส่งเสริมการคัดแยกขยะกันอย่างจริงจังมากขึ้น และนโยบายนี้ได้ถูกรวมอยู่ในเนื้อหาการประเมินหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงด้วย

    ดังนั้นหากหน่วยงานไทยมีการนำถังย่อยเศษอาหารเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการคัดแยกขยะ ก็จะช่วยให้การคัดแยกขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้คะแนนดีในการประเมินจากต้นสังกัด

  • ลดงบประมาณในการบำรุงรักษาต้นไม้
    ถังย่อยเศษอาหาร ช่วยให้หน่วยงานไทยสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต้นไม้ภายในหน่วยงานได้ เพราะถังย่อยเศษอาหารจะช่วยย่อยขยะเศษอาหารและขยะอินทรีย์ให้กลายเป็นปุ๋ยหมักคุณภาพดี ที่ทางหน่วยงานสามารถนำไปใช้กับต้นไม้ที่ปลูกอยู่ภายในหน่วยงานได้

  • เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
    ถังย่อยเศษอาหารช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร เพราะการใช้ถังย่อยเศษอาหารในการกำจัดขยะอินทรีย์ของหน่วยงาน ถือเป็นการทำ CSR และ CSV ในเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยแนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์ของหน่วยงานด้วยถังย่อยเศษอาหารนั้น สามารถทำได้ดังนี้
    • หน่วยงานสามารถใช้ถังย่อยเศษอาหารในการนำเสนอตนเองให้เป็นองค์กรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการแยกขยะและการลด Food Waste ซึ่งเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่กำลังให้ความสำคัญ

    • ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีที่ผลิตด้วยถังย่อยเศษอาหาร หากหน่วยงานผลิตได้ในปริมาณมาก และมีเหลือใช้ ก็สามารถนำขยะที่ผลิตจากถังย่อยเศษอาหารไปบริจาคให้กับชุมชนได้

    • การใช้ถังย่อยเศษอาหารในหน่วยงานราชการ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีต่อประชาชน ทั้งในเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ส่วนหน่วยงานเอกชน ที่มีการนำถังย่อยเศษอาหารไปใช้ภายในองค์กร ก็จะช่วยให้หน่วยงานได้ส่งมอบคุณค่าที่ดีให้กับสังคม และทำให้องค์กรมี Social Value ที่สูงขึ้น จากการใส่ใจสิ่งแวดล้อม

    • ถังย่อยเศษอาหารจะช่วยให้หน่วยงานก้าวเข้าสู่นโยบาย Net Zero ได้อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะถังย่อยเศษอาหารจะช่วยลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาขยะ และลดการผลิตก๊าซมีเทนจากการฝังกลบและการย่อยสลายของขยะอินทรีย์

ขยะภายในหน่วยงานประเภทใดบ้างที่สามารถนำมาทิ้งลงในถังย่อยเศษอาหาร

แม้จะมีชื่อว่าถังย่อยเศษอาหาร แต่อันที่จริงแล้ว สามารถใส่ขยะอินทรีย์ชนิดอื่นลงไปในถังย่อยเศษอาหารได้ด้วย โดยขยะที่สามารถใส่ลงไปในถังย่อยเศษอาหาร ได้แก่

  • เศษอาหารต่าง ๆ ที่เหลือจากการรับประทานอาหาร เช่น น้ำแกง ส้มตำ ก๋วยเตี๋ยว กระดูกชิ้นเล็ก ๆ ก้างปลา สามารถเทลงไปในถังย่อยเศษอาหารได้

  • ขยะเศษอาหารที่เหลือทิ้งจากการประกอบอาหาร เช่น เปลือกไข่ เปลือกผักผลไม้ เปลือกกุ้ง และแกนกลางของผัก ถือเป็นเศษอาหารที่จะช่วยให้ปุ๋ยในถังย่อยเศษอาหารมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมากขึ้น

  • กระดาษทิชชูและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากพืช เช่น กล่องอาหารที่ทำจากข้าวโพด ก็สามารถย่อยสลายในถังย่อยเศษอาหารได้

  • เศษหญ้า วัชพืช และเศษใบไม้แห้งที่ถูกนำมาทิ้งหลังการทำความสะอาดในบริเวณหน่วยงาน สามารถให้คนสวนนำมาเทลงในถังย่อยเศษอาหารได้เช่นกัน

หากหน่วยงานใดกำลังวางแผนการซื้อถังย่อยเศษอาหารขนาดใหญ่ สำหรับการใช้งานภายในองค์กร ขอแนะนำถังย่อยเศษอาหาร OKLIN ที่มีถังย่อยเศษอาหารระดับอุตสาหกรรมให้เลือกใช้หลายขนาด โดยแต่ละขนาดสามารถรองรับขยะเศษอาหารได้ตั้งแต่ 5-1,650 กิโลกรัมต่อวัน และสามารถเทขยะเศษอาหารลงในถังย่อยเศษอาหาร OKLIN ได้ตลอดเวลา และรอให้ขยะเน่าสลายเพียงแค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น ถังย่อยเศษอาหาร OKLIN ก็จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์ออกมาให้นำไปใช้งานต่อได้ โดยไม่ทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟแต่อย่างใด

ถังย่อยเศษอาหาร
โดยถังย่อยเศษอาหาร OKLIN มีระบบประหยัดพลังงานแม้เครื่องจะทำงานตลอดเวลา และด้วยเหตุนี้การเลือกใช้ถังย่อยเศษอาหาร OKLIN จึงถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับหน่วยงานอย่างแท้จริง

สนใจสินค้าเครื่องย่อยอาหาร Oklin สำหรับกำจัดขยะอาหาร หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Facebook page : oklinthailand
Line official : @oklinthailand
โทรศัพท์ : 095-1595645

Top