ของเสียไม่เสียของ ลดโลกร้อนด้วยถังหมักรักษ์โลก

ของเสียไม่เสียของ ลดโลกร้อนด้วยถังหมักรักษ์โลก

ถังหมักรักษ์โลก
ถังหมักรักษ์โลก

ของเสียไม่เสียของ ลดโลกร้อนด้วยถังหมักรักษ์โลก

วิธีแยกเศษอาหารก่อนนำลงถังหมักรักษ์โลก แปลงขยะให้
เป็นประโยชน์

ถังหมักรักษ์โลก คือ ถังสำหรับหมักเศษอาหาร และขยะสดที่ได้จากการทิ้งเศษอาหารเหลือใช้ในครัวเรือน โดยถังหมักรักษ์โลกจะช่วยเปลี่ยนเศษอาหารเหล่านั้นให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดี ไร้สารเคมี เหมาะกับการนำไปใช้บำรุงพืชพรรณในครัวเรือนให้งอกงาม และปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งที่อยู่ในถังหมักรักษ์โลกนั้นก็คือจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติช่วยย่อยสลายนั่นเอง ในวิธีดั้งเดิมที่มีการคิดค้นถังหมักขึ้นครั้งแรกที่ประเทศแคนาดานั้น ถังหมักรักษ์โลกเป็นเพียงการนำถังสีทึบธรรมดามาเจาะก้นออก แล้วนำไปครอบไว้บนหลุมที่ขุดไว้ลึกครึ่งหนึ่งของตัวถัง ซึ่งอาจขุดบริเวณบ้าน หรือในสวน โดยให้โดนแสงแดดอย่างน้อยครึ่งวัน จากนั้นก็จะนำเศษอาหาร และขยะสดที่ได้จากครัวเรือนมาเททิ้งไว้ ปิดฝาและอาศัยไส้เดือน แมลงวันและหนอนช่วยเร่งกระบวนการย่อยนั้นให้สมบูรณ์ ซึ่งหากอากาศในถังหมักถ่ายเทไม่ดีพอก็มีโอกาสที่แมลงเหล่านี้จะวางไข่และเติบโต หรือหากอากาศในถังหมักร้อนเกินไปก็อาจทำให้จุลินทรีย์ตายได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการเปิดฝาถังหมักรักษ์โลกทิ้งไว้ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ก็จะช่วยทำให้การย่อยสลายเกิดขึ้นได้อีกครั้ง

ถังหมักรักษ์โลก เซฟโลกที่เรารักได้อย่างไร

  1. ลดก๊าซมีเทน ตัวการโลกร้อน
    ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซที่ทำให้โลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 25 เท่า ก๊าซมีเทนเกิดจากการฝังกลบของเน่าเสียจำพวกขยะสด เศษอาหาร เศษใบไม้ และวัสดุอื่น ๆ ที่ย่อยสลายได้ การฝังกลบเหล่านี้ทำให้ก๊าซมีเทนถูกปล่อยออกมา การใช้ถังหมักรักษ์โลกกำจัดเศษอาหารจึงเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากการที่เศษอาหารเหล่านี้จะถูกนำไปฝังกลบ หรือเทรวมปล่อยให้เน่าเสียในกองขยะ

    ถังหมักรักษ์โลกกำจัดเศษอาหาร

  2. เป็นสารอาหารบำรุงดินชั้นดี
    เศษอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักจากถังหมักรักษ์โลกจะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่หากนำไปผสมกับดินในพื้นที่ต่าง ๆ จะช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน เพิ่มการกักเก็บน้ำให้ดิน และเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ให้พืช ทำให้พืชงอกงามโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ที่อาจทิ้งสารตกค้างในน้ำและอากาศ ดินที่มีคุณภาพดีจะนำไปสู่การกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์และช่วยยังลดการพังทลายของดินอีกด้วย
    ถังหมักรักษ์โลกตัวช่วยสิ่งแวดล้อมในการลดขยะ

     

  3. ลดผลกระทบจากการขนส่งขยะ
    เมื่อเราเทรวมเศษอาหารลงไปในกองขยะ ขยะทั้งหมดจะถูกนำไปคัดแยก ซึ่งกระบวนการในการคัดแยกหีบห่อ ถุงพลาสติก ออกจากเศษอาหารนั้นต้องใช้พลังงานทั้งไฟฟ้าและน้ำเข้ามาช่วย ขยะเศษอาหารยังต้องถูกขนส่งไปยังโรงหมักหรือโรงผลิตปุ๋ย ซึ่งการขนส่งเหล่านี้นอกจากใช้น้ำมันแล้วยังมีคาร์บอนไดออกไซด์จากการเดินทาง เราจึงควรมีถังหมักรักษ์โลกติดบ้านไว้เพื่อกำจัดเศษอาหารด้วยตัวเอง ซึ่งอาจลดปริมาณขยะในการเก็บของรถขยะแต่ละครั้งเพิ่มพื้นที่ให้สามารถเก็บขยะจากครัวเรือนอื่น ๆ ในการเดินทางครั้งเดียว

    คัดแยกขยะ

    (รูปภาพจาก Thairath)

วิธีแยกเศษอาหารก่อนนำลงถังหมักรักษ์โลก

  1. แยกขยะอินทรีย์ ออกจากขยะอื่น ๆ
    ขยะอินทรีย์หมายถึงขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำเป็นปุ๋ยได้ ได้แก่เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผักต่าง ๆ ให้แยกขยะเหล่านี้ออกจากขยะประเภทอื่น ๆ เพื่อเตรียมนำลงถังหมักรักษ์โลก โดยแนะนำให้มีถังขยะชนิดอื่นเพื่อรองรับ ได้แก่ ถังขยะรีไซเคิล สำหรับทิ้งขยะจำพวกพลาสติก กล่องนม กล่องกระดาษ ถังขยะสำหรับขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ หรือเปื้อนอาหารไม่คุ้มค่ากับการรีไซเคิล เช่น ซองขนม โฟมที่เปื้อนอาหาร เปลือกลูกอม เป็นต้น นอกจากนี้เศษอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อจากห้องทดลอง เศษอาหารที่ปนเปื้อนสารอันตราย ก็ไม่ควรใส่ปะปนลงไปในถังหมักเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย

     

  2. ตรวจดูเศษวัสดุอื่น ๆ จากเศษอาหาร
    ก่อนจะเทเศษอาหารลงในถังหมักรักษ์โลก ต้องตรวจสอบก่อนว่ามีวัสดุอื่น ๆ ที่อาจติดไปกับเศษอาหารหรือไม่ เช่น ลวดเย็บกระดาษ สายยางพลาสติก หลอดพลาสติก ถุงชา เป็นต้น โดยแยกสิ่งเหล่านี้ไปไว้ในกลุ่มขยะรีไซเคิล หรือขยะเปื้อนอาหาร ก่อนทุกครั้ง

     

  3. ไล่น้ำออกจากเศษอาหาร
    หลักการทำงานของถังหมักรักษ์โลก ถังหมักเศษอาหาร หรือเครื่องกำจัดขยะ มักเป็นการบดเศษอาหารให้ขนาดเล็กและทำให้แห้งก่อนกลายเป็นปุ๋ย การไล่น้ำออกจากเศษอาหารก่อนจะช่วยร่นระยะเวลาการย่อยเศษอาหารได้ ซึ่งได้แก่อาหารจำพวก น้ำแกง ซุป ซอส น้ำจิ้ม ฯลฯ นอกจากนี้ในถังหมักรักษ์โลกแบบทำมือ การใส่น้ำแกงลงไปในถังยังช่วยเพิ่มโอกาสการเติบโตของหนอนและแมลงที่มากจนเกินไป เช่น การลดปริมาณน้ำแกงในถ้วยก่อนเทลงไป ซึ่งมีวิธีแยกน้ำแกงง่าย ๆ ด้วยการหาตะแกรงเพื่อกรองน้ำแกงก่อนหนึ่งชั้น นอกจากนี้ยังรวมถึงอาหารที่มีน้ำมันเยอะอีกด้วย เช่น ครีมต่าง ๆ น้ำมันพืชเหลือใช้ เนย ผงเครื่องดื่มสำเร็จรูปบางชนิดแนะนำให้แยกออกก่อนเทลง

     

  4. ลดขนาดของเศษอาหารชิ้นใหญ่
    ระยะเวลาการย่อยสลายของถังหมักรักษ์โลกนั้นขึ้นอยู่กับขนาด สภาพอากาศและการทำงานของเครื่อง เพราะฉะนั้นการลดขนาดของเศษอาหารก่อนเทลงถังหมักรักษ์โลกจะช่วยลดระยะเวลาในการย่อยสลาย ทำได้โดยการตัด สับ หั่นหรือตำเศษอาหารที่มีชิ้นใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง เช่น เนื้อขนาดใหญ่ กระดูกชิ้นใหญ่ เป็นต้น

     

  5. แยกอาหารที่เน่าเสียมากเกินไปออก
    ในกระบวนการหมักของถังหมักรักษ์โลกนั้นมีปริมาณจุลินทรีย์ที่เหมาะสมในการย่อยสลายแล้ว หากใส่อาหารที่เน่าเสียนานเกินไป ก็อาจทำให้รบกวนกระบวนการหมัก หรือไปทำลายจุลินทรีย์ในถังหมักได้ นอกจากนี้ปุ๋ยหมัก ของเสียจากสัตว์ หรือน้ำหมักชีวภาพก็ไม่ควรใส่ลงไปในถังหมักรักษ์โลก เพราะอาจไปทำลายกระบวนการย่อยได้เช่นกัน

     

  6. แยกเปลือกและวัสดุที่แข็งก่อนเท
    ถังหมักรักษ์โลกส่วนใหญ่ไม่สามารถย่อยสลายเปลือกผลไม้ และวัสดุที่มีความแข็งได้ เช่น เปลือกทุเรียน เปลือกมะพร้าว เปลือกแตงโม เปลือกหอย กระดูกสัตว์ขนาดใหญ่ ก้างปลาขนาดใหญ่ กระดองสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้ในถังหมักรักษ์โลกชนิดไฟฟ้าอาจขึ้นอยู่กับการทำงานของแต่ละรุ่น

ปัจจุบันการติดตั้งถังหมักรักษ์โลกในครัวเรือนนั้นง่าย และไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด ทั้งยังเป็นมิตรกับคนที่กังวลเรื่องแมลง เพราะถังหมักรักษ์โลกถูกดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบของถังขยะกำจัดเศษอาหาร มีระบบเปิดปิดมิดชิด สะอาด ง่ายต่อการจัดการ ที่สำคัญคือมีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยย่อยสลายเศษอาหารเหล่านี้ให้กลายเป็นปุ๋ยชั้นดี ในเวลาที่รวดเร็วกว่าแบบเดิม โดยที่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นออแกร์นิกอยู่ และยังติดตั้งตามมุมต่าง ๆ ของบ้านได้ ไม่ต้องออกแรงขุดหลุมอีกต่อไป

ถังหมักรักษ์โลกในครัวเรือน

OKLIN Composter ดีกว่า ถังหมักรักษ์โลกอื่นอย่างไร

เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารเป็นปุ๋ย OKLIN Composter จากแบรนด์โอ๊คลิน ซึ่งช่วยกำจัดขยะเศษอาหารที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการย่อยสลายขยะเศษอาหาร ไร้กังวลเรื่องแมลงและกลิ่น โดยสามารถลดปริมาณขยะเศษอาหารได้ 80-90% ในเวลา 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องห่วงเรื่องขยะตกค้าง โดยกระบวนการทำงานของโอ๊คลินใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษในการย่อยเศษอาหาร ดังนั้นคุณสามารถนำเศษอาหารจำพวกน้ำแกง ซุป ซอส น้ำจิ้ม ครีมต่าง ๆ หรือน้ำมันพืชลงเครื่องได้โดยที่ไม่ต้องทำการไล่น้ำออก รวมถึงเปลือกและวัสดุที่แข็ง อาทิ ก้างปลาทู เปลือกกุ้ง กระดูกขนาดเล็ก กระดาษทิชชูและแผงไข่ ก็สามารถย่อยสลายเป็นปุ๋ยได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารของโอ๊คลินยังมีดีไซน์สวยงาม สามารถตั้งไว้ในบ้าน สำนักงาน หรืออาคารสถานที่ได้ไม่เปลืองพื้นที่ เหมาะกับทุกคนที่อยากมีถังหมักรักษ์โลกที่ดูแลง่าย ไม่ยุ่งยาก ให้โลกสะอาดด้วยขยะจากก้นครัวเรา

ถังหมักรักษ์โลก

สามารถติดต่อสอบถามสินค้า ถังหมักรักษ์โลก และติดตามโปรโมชั่นดี ๆ ได้ที่
Facebook page : oklinthailand
Line official : @oklinthailand
โทรศัพท์ : 095-1595645

Top