กรีนคาร์บอน เป็นคาร์บอนที่ดูดซับโดยต้นไม้ ผืนป่า รวมถึงผืนดินที่ถูกปกคลุมด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงของ “พืช” และมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญไม่แพ้บลูคาร์บอนที่จะกักเก็บไว้ในระบบนิเวศชายฝั่ง แหล่งดูดซับกรีนคาร์บอนที่ทรงพลังที่สุดคือ “ป่า” เพราะมีอายุยืนนาน และนอกจากนี้ยังมีเศษซากใบไม้ต่าง ๆ ที่ถูกร่วงอยู่ตามผืนป่าจะสะสมคาร์บอนเป็นระยะเวลานานหลากหลายปี.. พืชและผืนป่าจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการหมุนเวียนคาร์บอน ในขณะเดียวกัน “ป่า” สามารถสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้จำนวนมาก เพราะฉะนั้นการปลูกป่าและการฟื้นคืนพื้นที่ของป่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกักเก็บ “กรีนคาร์บอน” ได้มากขึ้น
ใน 1 ไร่ พรรณไม้แต่ละชนิดสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เท่าไหร่
ต้นพะยูง 100 ต้น/ไร สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 1.36-2.16 ตันคาร์บอน/ไร่/ปี
ต้นยูคาลิปตัส 267 ต้น/ไร สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 3.15-6.09 ตันคาร์บอน/ไร่/ปี
ต้นกระถินเทพา 178 ต้น/ไร สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 4.00-6.09 ตันคาร์บอน/ไร่/ปี
ต้นโกงกาง 711 ต้น/ไร สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 0.77-6.49 ตันคาร์บอน/ไร่/ปี
ต้นยางพารา 144 ต้น/ไร สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 4.22 ตันคาร์บอน/ไร่/ปี
ต้นปาล์มน้ำมัน 144 ต้น/ไร สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 2.49 ตันคาร์บอน/ไร่/ปี
พรรณไม้พื้นเมืองโตช้า 100 ต้น/ไร สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 0.95 ตันคาร์บอน/ไร่/ปี
พรรณไม้ปลูกในเมือง 50 ต้น/ไร สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 1.21 ตันคาร์บอน/ไร่/ปี
โดย 5 แหล่งหลักในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ของต้นไม้
1.มวลชีวภาพเหนือพื้นดิน
2.มวลชีวภาพใต้ดิน
3.ไม้ตาย
4.เศษซากพืช
5.อินทรีย์วัตถุในดิน
รู้หรือไม่ เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารโอ๊คสามารถช่วยลดโลกร้อนไม่แล้วเท่าไหร่
-เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารโอ๊คลินสามารถกำจัดขยะเศษอาหารมากกว่า 4,117 ตัน/ปีหรือ 4,116,840 กก./ปี
-ลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากหลุมฝังกลบถึง 164,673 กก./ปี
-สามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นได้ถึง 10,415,000 kgCO2e/ปี
เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารเป็นปุ๋ย oklin composter เป็นการกำจัดขยะเศษอาหารที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการย่อยสลายขยะเศษอาหาร โดยสามารถลดปริมาณขยะเศษอาหารได้ 80-90% ในเวลา 24 ชั่วโมง ผลลัพธ์ที่ได้คือปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็น สารบำรุงดิน เร่งใบ เร่งผล ในการทำพืชสวนทางการเกษตร หรือใช้บำรุงต้นไม้
ที่มา
https://www.bigth.com/th/blog/green-carbon/