วิธีบำรุงรักษาเครื่องย่อยขยะให้ใช้งานได้ยาวนาน มีประสิทธิภาพ

วิธีบำรุงรักษาเครื่องย่อยขยะให้ใช้งานได้ยาวนาน มีประสิทธิภาพ

เครื่องย่อยขยะ
เครื่องย่อยขยะ

วิธีการบำรุงรักษาเครื่องย่อยขยะให้ใช้งานได้ยาวนาน

การบำรุงรักษาเครื่องย่อยขยะ ให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน มีข้อควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง

สำหรับผู้ที่เล็งเห็นความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการลดปริมาณขยะ เพื่อช่วยลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกอย่างก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงชื่นชอบการปลูกต้นไม้ และมีความต้องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติไว้ใช้เอง การมีเครื่องย่อยขยะไว้ใช้สักเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในระดับครัวเรือนหรือการใช้งานในระดับอุตสาหกรรมก็ตาม ก็ถือว่าเป็นประโยชน์และช่วยลดปริมาณขยะต่อวันได้อย่างมาก แถมยังมีส่วนช่วยในการรักษ์โลกอีกด้วย

ซึ่งเครื่องย่อยขยะในปัจจุบันนี้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่าย สะอาด ไม่มีกลิ่นรบกวน และปลอดภัยจากสัตว์ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่จะมาคุ้ยขยะให้เลอะเทอะ แต่ถึงเครื่องย่อยขยะจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่ายเพียงใด ก็ยังต้องมีการหมั่นดูแลรักษาเครื่องให้ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน ไม่พังก่อนเวลาอันสมควร และประสิทธิภาพในการทำงานไม่ลดลงจากเดิม โดยหลักการดูแลรักษาเครื่องย่อยขยะนั้น เป็นกระบวนการที่ง่ายและไม่ซับซ้อน เพียงใช้งานเครื่องให้ถูกวิธีและปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ระมัดระวังชนิดของอาหารที่ใส่ลงไปในเครื่องย่อยขยะ
    เครื่องย่อยขยะแต่ละรุ่น จะมีข้อมูลระบุไว้ในคู่มือการใช้งาน ว่าอาหารชนิดใดบ้างที่สามารถใส่ลงไปในเครื่องย่อยนี้ได้ และอาหารหรือวัตถุชนิดใดที่ไม่ควรใส่ลงไปในเครื่อง ดังนั้นก่อนใช้งานควรศึกษาข้อมูลในคู่มือให้ละเอียด

    สำหรับเครื่องย่อยขยะ Oklin สามารถใส่อาหารได้อย่างหลากหลาย เช่น เปลือกไข่ ส้มตำปูปลาร้า ก๋วยเตี๋ยว กระดูกชิ้นเล็ก ก้างปลา อาหารสำเร็จรูปโดยอาหารที่มีลักษณะเป็นน้ำ ก็สามารถเทลงไปในเครื่องย่อยขยะเศษอาหารได้เลยทันที โดยไม่ต้องแยกน้ำออกจากอาหารก่อนเทลงในเครื่อง

    นอกจากนี้เครื่องย่อยขยะของเรายังสามารถใส่กระดาษทิชชู แผงไข่ที่ทำจากกระดาษ และบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพืช ลงไปในเครื่องได้อีกด้วย การระมัดระวังชนิดของอาหารที่ใส่ลงไปในเครื่องย่อยขยะ จะช่วยให้เครื่องสามารถย่อยสลายขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อควรระวังคือไม่ควรใส่อาหารที่ไม่ได้ระบุไว้ในคู่มือหรืออาหารประเภทที่คู่มือระบุไว้ว่าห้ามใส่ลงไปในเครื่องย่อยขยะ และไม่ควรใส่กระดูกชิ้นใหญ่ ๆ ลงไป เพราะอาจทำให้แกนเหล็กที่ใช้กวนเศษอาหารได้รับความเสียหายได้

  • เติมเชื้อจุลินทรีย์ลงในเครื่องย่อยขยะ
    หากเป็นเครื่องย่อยขยะแบบที่ต้องเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้ใช้งานก็จะต้องเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ลงในเครื่องย่อยขยะ เพื่อให้เครื่องทำการย่อยขยะอาหารให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากเป็นเครื่องย่อยขยะ Oklin ที่มีการใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษในการย่อยสลายขยะให้กลายเป็นปุ๋ย ก็จะไม่ต้องคอยเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ลงในเครื่องย่อยแต่อย่างใด เพราะแค่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ลงในเครื่องเพียงครั้งเดียว ก็สามารถใช้งานได้ตลอดอายุการใช้งาน

     

  • เปลี่ยนไส้กรองเครื่องย่อยขยะ
    หากใช้เครื่องย่อยขยะแบบที่ต้องเปลี่ยนไส้กรองหรือฟิลเตอร์ เพื่อคัดกรองเอาขยะที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมออกไป ผู้ใช้งานก็จะต้องมีการเปลี่ยนไส้กรองหรือฟิลเตอร์ของเครื่องย่อยขยะ ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในคู่มืออย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้มีขยะปนเปื้อนเล็ดลอดออกไปสู่สิ่งแวดล้อม แต่หากเลือกใช้เครื่องย่อยขยะ Oklin ก็จะสามารถตัดขั้นตอนการเปลี่ยนไส้กรองหรือฟิลเตอร์ที่มีราคาแพงทิ้งไปได้เลย เพราะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไส้กรองหรือฟิลเตอร์ตลอดอายุการใช้งานเครื่อง
  • รักษาระดับของปุ๋ยอินทรีย์เก่าในถังของเครื่องย่อยขยะให้อยู่ในปริมาณที่กำหนดอยู่เสมอ
    สำหรับเครื่องย่อยขยะที่ไม่ต้องมีการเติมเชื้อจุลินทรีย์ จะต้องมีการเหลือปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วเอาไว้ในถัง โดยให้อยู่ในปริมาณที่ระบุไว้กับตัวเครื่องเสมอ เพื่อให้ปุ๋ยอินทรีย์ล็อตเก่าทำหน้าที่เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ให้กับปุ๋ยล็อตใหม่ไปเรื่อย ๆ ดังนั้นหลังจากตักปุ๋ยอินทรีย์ออกจากถังของเครื่องย่อยขยะแล้ว ควรตรวจสอบปริมาณของปุ๋ยล็อตเก่าที่เหลือไว้ในเครื่องด้วยว่าอยู่ในระดับที่เครื่องกำหนดหรือไม่
  • ตรวจสอบแกนเหล็กภายในตัวเครื่องย่อยขยะอยู่เสมอ
    ภายในตัวถังของเครื่องย่อยขยะจะมีแกนเหล็กที่ใช้สำหรับกวนขยะเศษอาหารให้เข้ากันอยู่ จึงควรตรวจสอบการทำงานและสภาพของแกนเหล็กในเครื่องย่อยขยะอย่างสม่ำเสมอ เช่น ตรวจสอบตัวนอตและการเชื่อมต่อตามจุดต่าง ๆ ของแกนเหล็กว่าแน่นหนาดีหรือไม่ และควรตอบสอบจังหวะการหมุนของแกนเหล็กว่ายังสามารถหมุนได้ตามปกติหรือเปล่า หากพบความผิดปกติในการใช้งานหรือแกนเหล็กไม่ทำงาน ควรนำเครื่องย่อยขยะไปส่งซ่อมหรือทำการเปลี่ยนอะไหล่
  • ไม่ควรให้มีสิ่งใดกีดขวางท่อระบายอากาศของเครื่องย่อยขยะ
    เครื่องย่อยขยะแบบใช้ในครัวเรือนจะมีท่อระบายอากาศอันเล็ก ๆ อยู่ที่ด้านข้างของตัวเครื่อง เพื่อระบายอากาศภายในเครื่องให้เกิดการหมุนเวียน ดังนั้นในการวางเครื่องย่อยขยะไว้ที่บ้าน จึงควรวางไว้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และไม่มีสิ่งใดไปกีดขวางท่อระบายอากาศของเครื่องย่อยขยะ
  • หมั่นทำความสะอาดตัวถังของเครื่องย่อยขยะ ไม่ให้มีคราบเกาะติดจนแห้งกรัง
    หากมีเศษอาหารหรือเศษปุ๋ยจับตัวเป็นก้อนแข็งอยู่ในตัวถังของเครื่องย่อยขยะ ควรใช้เกรียงหรืออุปกรณ์ที่แถมมากับเครื่อง คอยแซะทำความสะอาดไม่ให้มีก้อนปุ๋ยหรือเศษอาหารจับตัวกันจนแข็งเป็นก้อน เพื่อให้แกนเหล็กสามารถกวนเศษอาหารได้อย่างทั่วถึง และจุลินทรีย์สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องย่อยขยะกับปลั๊กสามตา
    เนื่องจากเครื่องย่อยขยะเป็นเครื่องที่ต้องเสียบปลั๊กทิ้งไว้ตลอดเวลา จึงควรเสียบปลั๊กของเครื่องย่อยขยะกับปลั๊กไฟตัวหลักเท่านั้น ไม่ควรเสียบปลั๊กของเครื่องย่อยขยะไว้กับปลั๊กพ่วงสามตาโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรจากปลั๊กสามตาที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวเครื่องได้

หากคุณสนใจติดตั้งเครื่องย่อยขยะ เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบอัตโนมัติและเพื่อกำจัดเศษอาหารอย่างง่ายดาย ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ใช้งานในระดับครัวเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน และโรงแรมก็ตาม ลองเลือกใช้เครื่องย่อยขยะ Oklin ที่มีให้เลือกหลายขนาด ทั้งขนาดที่เหมาะกับการใช้งานในครัวเรือน และขนาดที่เหมาะกับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ที่สามารถช่วยลดปริมาณเศษอาหารที่ต้องกำจัดในแต่ละวัน และเปลี่ยนขยะเศษอาหารเหล่านั้นให้แปรสภาพเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีภายใน 24 ชั่วโมง ด้วยการหมักของเชื้อจุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษของเครื่องย่อยขยะ Oklin

สามารถติดต่อสอบถามสินค้า เครื่องย่อยขยะ Oklin และติดตามโปรโมชั่นดี ๆ ได้ที่
Facebook page : oklinthailand
Line official : @oklinthailand
โทรศัพท์ : 095-1595645

Top