วิธีการถนอมอาหารให้อยู่ได้นาน ก่อนที่จะกลายเป็นขยะอาหาร
รวม 5 วิธีถนอมอาหาร ช่วยลดขยะอาหารและช่วยโลกได้อย่างยั่งยืน
ขยะอาหาร (Food waste) ยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของโลกที่ทุกคนยังต้องเผชิญร่วมกัน เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้เรามีทรัพยากรทางด้านอาหารมากมาย จนนำไปประกอบอาหารหรือรับประทานอาหารเหล่านั้นไม่ทันการณ์ จนเกิดการเน่าเสียหรือกลายเป็นขยะอาหารได้ง่าย ซึ่งขยะอาหารเหล่านั้นหากได้รับการกำจัดที่ไม่ถูกต้อง จะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมตามมามากมาย ยิ่งไปกว่านั้นอีกหลายดินแดนทั่วโลกยังคงเผชิญปัญหาเรื่องความขาดแคลนอาหารจากความยากจนและภาวะสงคราม ปัญหาเรื่องขยะอาหารจึงเป็นเรื่องที่เราทุกคนควรตระหนักถึงและช่วยกันลดขยะอาหารเพื่อช่วยให้โลกของเราอยู่ได้อย่างปลอดภัยและเท่าเทียมได้อย่างยั่งยืน
หนึ่งในวิธีในการช่วยลดปัญหาเรื่องขยะอาหารที่มีประสิทธิภาพ คือการลดจากต้นตอของปัญหาด้วยการจัดการไม่ให้มีอาหารหรือวัตถุดิบที่เน่าเสียก่อนนำมาประกอบอาหาร ด้วยวิธีการถนอมอาหารที่ช่วยทำให้อาหารเหล่านั้นสามารถเก็บรักษาได้นานมากขึ้น ให้เราสามารถกินได้ทัน และไม่เหลือเป็นขยะอาหารได้นั่นเอง ซึ่งการลดขยะอาหารจากสาเหตุของปัญหาเช่นนี้ จะช่วยให้เราสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและช่วยลดขยะอาหารได้ในจำนวนมากอีกด้วย
วันนี้ Oklin จะพาไปดูวิธีถนอมอาหารให้อยู่ได้ยาวนาน ก่อนที่จะกลายเป็นขยะอาหาร ด้วย 5 วิธีถนอมอาหารที่ช่วยลดขยะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้คุณสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและช่วยโลกได้อย่างยั่งยืน
5 วิธีถนอมอาหาร ช่วยลดขยะอาหารได้จริง!
- การถนอมอาหารประเภทผัก
ผัก เป็นวัตถุดิบที่มีระยะเวลาของความสดใหม่ได้ไม่นานมากนัก และมีปัจจัยที่ทำให้เกิดการเน่าเสียได้ง่าย จึงทำให้เราพบว่าขยะอาหารที่มาจากวัตถุดิบเน่าเสียนั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นประเภทผักสดอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากเรารู้จักวิธีจัดเก็บหรือถนอมอาหารได้อย่างเหมาะสมนั้นจะช่วยยืดอายุของผักและลดขยะอาหารได้เป็นจำนวนมาก สิ่งสำคัญในการถนอมอาหารประเภทผัก คือการจำแนกประเภทของผักเหล่านั้นก่อนว่าเป็น ผักที่เสียง่าย ผักที่เก็บได้ในเวลาจำกัด และผักที่เก็บได้ในระยะเวลานาน เมื่อจำแนกแล้วก็ควรจัดเก็บผักประเภทเดียวกันไว้ในกลุ่มเดียวกันโดยไม่ปะปนกับประเภทอื่น เพราะผักที่เริ่มไม่สดใหม่นั้นจะมีการปล่อยก๊าซออกมา หากเก็บไว้รวมกันก็จะก๊าซเหล่านั้นทำให้ผักประเภทอื่นเน่าเสียได้ด้วย และในการจัดเก็บนั้นควรเก็บไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ไม่เย็นมากจนเกินไป นอกจากนี้เรายังมีเคล็ดลับเกี่ยวกับการถนอมผักแต่ละชนิดโดยเฉพาะ ดังนี้- ผักที่มีก้านเล็ก เช่น ผักบุ้ง สามารถใช้กระดาษทิชชูในการห่อบริเวณลำต้น ด้วยการมัดหนังยางไว้ และนำส่วนฐานไปใส่ในถุงพลาสติกที่มีน้ำอยู่เล็กน้อย นำไปใส่ในแก้ว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผัก และตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง
- ผักที่ช้ำง่าย เช่น ต้นหอม ผักชี ขึ้นฉ่าย เป็นต้น ผักเหล่านี้จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะมีความบอบบางและเน่าจนเกิดเป็นขยะอาหารได้ง่าย โดยจะใช้ผ้าขาวบางบิดหมาดมาห่อผักแต่ละชนิดเป็นกำ ๆ (แต่ก่อนนำมาห่อจะต้องล้างให้สะอาด และคัดเลือกให้เหลือเฉพาะส่วนที่สดใหม่เท่านั้น) เมื่อห่อเสร็จให้นำไปใส่ถุงพลาสติกและลมออก แล้วจึงใช้หนังยางมัดให้แน่น และนำเข้าตู้เย็นบริเวณช่องผัก
- ผักที่มีก้านที่หนาและแข็งแรง เช่น บร็อคโคลี ให้ตัดส่วนของใบออก และหั่นบริเวณส่วนฐานออกเล็กน้อย แล้วจึงนำไปใส่ในแก้วที่มีขนาดพอดีกับส่วนของฐาน เพื่อลดการถูกกระแทกและกดทับ และนำเข้าตู้เย็นต่อไป
- ผักที่มีลักษณะเป็นหัว เช่น ผักกาด เริ่มต้นที่การล้างน้ำให้สะอาด และแยกออกมาทีละใบ พักหรือผึ่งให้แห้ง แล้วจึงนำมาใส่ถุงพลาสติก และนำเข้าตู้เย็นต่อไป
- ผักที่มีก้านเล็ก เช่น ผักบุ้ง สามารถใช้กระดาษทิชชูในการห่อบริเวณลำต้น ด้วยการมัดหนังยางไว้ และนำส่วนฐานไปใส่ในถุงพลาสติกที่มีน้ำอยู่เล็กน้อย นำไปใส่ในแก้ว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผัก และตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง
- การถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์
เนื้อสัตว์แต่ละชนิดไม่ว่าจะเป็น หมู ไก่ วัว ปลา และอาหารทะเลนั้น มีวิธีการเก็บรักษาให้เหมาะสมได้แตกต่างกัน แต่ตามหลักการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขยะอาหารจากเนื้อสัตว์ที่เน่าเสียได้ก็คือการถนอมอาหารด้วยความเย็น จึงแนะนำให้เก็บเนื้อสัตว์เข้าช่องฟรีซโดยมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -18 องศาเซลเซียส ถึง -22 องศาเซลเซียส แต่ก่อนนำไปจัดเก็บนั้น เนื้อสัตว์แต่ละประเภทจะมีวิธีการเตรียมที่แตกต่างกัน ดังนี้- เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อไก่ ประเภทที่ยังไม่ได้สับละเอียดให้นำไปถูด้วยเกลือ และล้างออกด้วยน้ำสะอาด หลังจากนั้นให้ซับน้ำให้แห้งก่อนนำไปใส่ถุงซิปล็อก ส่วนประเภทที่มีการสับหรือบดแล้ว ให้ตักแบ่งใส่ถุงซิปล็อกและกดให้แบนเพื่อให้ความเย็นกระจายได้ทั่วถึง ซึ่งทั้ง 2 ประเภทเมื่อนำเข้าถุงซิปล็อกแล้วจะต้องไล่หรือรีดลมออกให้เหมือนเป็นถุงสุญญากาศ และนำไปใส่กล่องที่มีฝาปิดและนำเข้าช่องฟรีซ นอกจากนี้หากเป็นเนื้อที่ผ่านการประกอบอาหารแล้ว เราสามารถยืดอายุให้ไม่เน่าเสียจนกลายเป็นขยะอาหารได้ด้วยการนำฟอยล์มาห่อหุ้มและนำเข้าตู้เย็นได้อีกด้วย
- อาหารทะเล
- กุ้ง: จะต้องนำไปล้างน้ำเกลือ ปอกเปลือก และผ่าส่วนเส้นดำบริเวณหลังกุ้งออก หลังจากนั้นให้นำไปคลุกกับแป้งและล้างออกให้สะอาด แล้วจึงนำมาเรียงใส่กล่อง หากมีจำนวนมากสามารถใช้กระดาษไขคั่นระหว่างชั้นที่เรียงทับกัน และนำเข้าช่องฟรีซได้
- ปลา: ให้นำปลาไปถูกับเกลือและล้างออกด้วยน้ำสะอาด หลังจากนั้นให้นำมาหั่นและใส่ถุงซิปล็อก โดยไล่ลมออกให้หมด แล้วจึงนำใส่กล่องเพื่อเข้าช่องฟรีซ
- กุ้ง: จะต้องนำไปล้างน้ำเกลือ ปอกเปลือก และผ่าส่วนเส้นดำบริเวณหลังกุ้งออก หลังจากนั้นให้นำไปคลุกกับแป้งและล้างออกให้สะอาด แล้วจึงนำมาเรียงใส่กล่อง หากมีจำนวนมากสามารถใช้กระดาษไขคั่นระหว่างชั้นที่เรียงทับกัน และนำเข้าช่องฟรีซได้
- เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อไก่ ประเภทที่ยังไม่ได้สับละเอียดให้นำไปถูด้วยเกลือ และล้างออกด้วยน้ำสะอาด หลังจากนั้นให้ซับน้ำให้แห้งก่อนนำไปใส่ถุงซิปล็อก ส่วนประเภทที่มีการสับหรือบดแล้ว ให้ตักแบ่งใส่ถุงซิปล็อกและกดให้แบนเพื่อให้ความเย็นกระจายได้ทั่วถึง ซึ่งทั้ง 2 ประเภทเมื่อนำเข้าถุงซิปล็อกแล้วจะต้องไล่หรือรีดลมออกให้เหมือนเป็นถุงสุญญากาศ และนำไปใส่กล่องที่มีฝาปิดและนำเข้าช่องฟรีซ นอกจากนี้หากเป็นเนื้อที่ผ่านการประกอบอาหารแล้ว เราสามารถยืดอายุให้ไม่เน่าเสียจนกลายเป็นขยะอาหารได้ด้วยการนำฟอยล์มาห่อหุ้มและนำเข้าตู้เย็นได้อีกด้วย
- การถนอมอาหารประเภทผลไม้
การถนอมอาหารประเภทผลไม้นั้นเราอาจคุ้นเคยด้วยการนำไปแช่อิ่ม ดอง และอื่น ๆ ซึ่งเป็นการช่วยถนอมอาหารให้ผลไม้ไม่เน่าเสียจนกลายเป็นขยะอาหาร แต่วันนี้เราจะขอพาไปแนะนำว่าหากเรายังต้องการรับประทานผลไม้สด จะต้องจัดเก็บอย่างไรให้อยู่ได้นานไม่เน่าเสีย อย่างแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่าผลไม้แต่ละชนิดนั้นมีลักษณะ เงื่อนไข และส่วนประกอบที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการและอุณหภูมิที่แตกต่างกันในการจัดเก็บด้วย โดยเราขอแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ ผลไม้ประเภทที่ควรเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส เช่น ฝรั่ง แตงโม มังคุด ลองกอง น้อยหน่า และกระท้อน เป็นต้น และผลไม้ประเภทที่ควรเก็บในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 2 องศาเซลเซียส เช่น ลำไย ลิ้นจี่ เป็นต้น ซึ่งก่อนนำเข้าเก็บในตู้เย็นควรจะต้องมีการปอกหรือหั่น โดยการนำเมล็ดออก แล้วเก็บในกล่องที่มีฝาปิด ก่อนนำเข้าตู้เย็นต่อไป - การถนอมอาหารประเภทแป้ง
อาหารประเภทแป้งนั้นเป็นกลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงานหลักกับร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นข้าว หรือขนมปัง ก็เป็นที่นิยมในการรับประทานของผู้คนทั่วโลก แต่ขนมปังอบร้อนนั้นมักจะมีระยะเวลาการจัดเก็บได้ไม่นานนัก และกลายเป็นขยะอาหารได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเราสามารถช่วยยืดอายุของขนมปังอบใหม่ให้ยาวนานขึ้น ได้ด้วยการนำไปห่อด้วยฟอยล์และเก็บในช่องฟรีซ วิธีนี้จะช่วยให้สามารถจัดเก็บขนมปังให้มีอายุได้นานถึง 3 เดือน
ส่วนข้าวสารนั้นให้จัดเก็บในกล่องสุญญากาศที่มีฝาปิดล็อกแนบสนิท เพื่อป้องกันความชื้นและไม่ให้แมลงเข้าไป ซึ่งทำให้สามารถเก็บข้าวสารได้นานกว่า 2 เดือน นอกจากนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ให้เรานำข้าวสารออกไปตากแดดอยู่เป็นระยะเพื่อไล่ความชื้น - การถนอมอาหารประเภทของแห้ง
สำหรับอาหารแห้งหรือของแห้งนั้น เช่น ปลาแห้ง กุนเชียง หอมแดง หัวหอมใหญ่ กระเทียม ฯลฯ หลายคนอาจมองข้ามว่าเป็นสิ่งที่สามารถเก็บได้นาน จึงไม่ได้ระมัดระวังในการจัดเก็บจนเกิดเชื้อราและกลายเป็นขยะอาหารไปโดยยังไม่ทันได้ใช้งาน โดยทั่วไปแล้วควรเก็บไว้ในที่โปร่ง แห้ง และสะอาด หรือสามารถเก็บไว้ในช่องฟรีซได้ ตัวอย่างการถนอมของแห้ง เช่น- หัวหอม (หอมแดงและหอมใหญ่): สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนำไปใส่ถุงที่เป็นซองกระดาษสีน้ำตาลและนำเข้าตู้เย็น การใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อแยกไว้แต่ละลูกใส่ในถุงพลาสติกและนำเข้าตู้เย็น และการห่อด้วยฟอยล์ถนอมอาหารและนำไปแช่เอาไว้ในช่องผัก เป็นต้น
- กระเทียม: สามารถจัดเก็บได้หลายวิธีเช่นกัน อย่างการเก็บไว้ที่อุณหภูมิปกติ (ประมาณ 60-65 องศาเซลเซียส) โดยใส่ในถุงตาข่ายหรือตะกร้าและวางให้ห่างจากความชื้น หรือจะนำไปเก็บไว้ในช่องฟรีซ ก็สามารถทำได้โดยให้แยกกระเทียมออกเป็นกลีบแล้วใส่ภาชนะที่มีฝาปิดและจัดเก็บไว้ในลิ้นชักตู้เย็น นอกจากนี้เรายังสามารถจัดเก็บกระเทียมไว้ในน้ำมันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเน่าเสียหรือกลายเป็นขยะอาหารได้อีกด้วย โดยสามารถนำกระเทียมแห้งที่หั่นเป็นชิ้นราดด้วยน้ำมันมะกอกให้ท่วมก็จะช่วยให้กระเทียมมีรสชาติอร่อยและสามารถเก็บได้ยาวนานไปพร้อม ๆ กัน
- หัวหอม (หอมแดงและหอมใหญ่): สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนำไปใส่ถุงที่เป็นซองกระดาษสีน้ำตาลและนำเข้าตู้เย็น การใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อแยกไว้แต่ละลูกใส่ในถุงพลาสติกและนำเข้าตู้เย็น และการห่อด้วยฟอยล์ถนอมอาหารและนำไปแช่เอาไว้ในช่องผัก เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าเราสามารถช่วยกันลดขยะอาหารได้จากต้นตอด้วยการถนอมอาหาร เพื่อยืดอายุของวัตถุดิบและอาหารไม่ให้เน่าเสีย ซึ่งวิธีนี้สามารถเริ่มต้นได้ทันทีในชีวิตประจำวันของเรา หากเราช่วยกันลดขยะอาหารด้วยการถนอมอาหารแล้ว จะทำให้เราใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้นและช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย แต่การจะลดขยะอาหารให้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งกว่าเดิม ควรจะมีการปรับพฤติกรรมและพิจารณาจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมกันด้วย เช่น การวางแผนก่อนเลือกซื้อวัตถุดิบประกอบอาหาร การเลือกซื้อเฉพาะวัตถุดิบที่จำเป็นหรือได้ใช้งาน และการเลือกซื้อวัตถุดิบที่มีปริมาณเหมาะสมกับระยะเวลาในการรับประทานและประกอบอาหาร เป็นต้น
แต่หากใครที่ลองลดขยะอาหารด้วยการถนอมอาหารเพื่อยืดอายุให้นานขึ้นแล้ว แล้วยังพบว่ายังไม่สามารถนำวัตถุดิบต่าง ๆ ไปใช้งานได้ทัน หรือรับประทานได้ไม่หมด จนเกิดการเน่าเสียกลายเป็นขยะอาหาร การใช้งานเครื่องกำจัดขยะอาหารหรือย่อยเศษอาหาร Oklin composter จะช่วยลดขยะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อโลกของเรา เพราะสามารถลดปริมาณขยะอาหารด้วยเทคโนโลยีชีวภาพได้มากถึง 80-90% และเปลี่ยนขยะอาหารเหล่านั้นให้กลายเป็นปุ๋ยได้ในระยะเวลาเพียง 24 ชม. และย่อยเศษอาหารได้เกือบทุกชนิด ซึ่งช่วยลดการกำจัดขยะอาหารด้วยการฝังกลบที่ส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่ทำลายโลกของเราได้โดยตรง
สนใจเครื่องกำจัดเศษอาหารโอ๊คลิน ติดต่อ
Facebook page : oklinthailand
Line official : @oklinthailand
โทรศัพท์ : 095-1595645